บริวารของดวงอาทิตย์

          บริวารของดวงอาทิตย์จะโคจรอยู่รอบดวงอาทิตย์ ได้แก่ ดาวเคราะห์ ดวง ดวงจันทร์ที่เป็นบริวารดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์แคระ ดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง และวัตถุขนาดเล็กอื่นๆ 
1. ดาวเคราะห์ที่เป็นบริวารของดวงอาทิตย์ 

       ระบบของดวงดาวที่ประกอบด้วย ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง และมีดาวเคราะห์เป็นบริวาร ดวง ซึ่งดาวเคราะห์ทั้ง ดวง เรียงลำดับจากดวงที่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด ไปหาดวงที่อยู่ไกลดวงอาทิตย์มากที่สุด ดังนี้ ดาวพุธดาวศุกร์โลกดาวอังคารดาวพฤหัสบดีดาวเสาร์ดาวยูเรนัสดาวเนปจูน

      แต่เดิมระบบสุริยะมีการนับดาวพลูโตเป็นดาวเคราะห์ดวงที่ ที่อยู่ไกลจากดวงอาทิตย์มากที่สุด ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า จนกระทั่งมีการค้นพบหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ใหม่ว่า ดาวพลูโตได้ถูกถอดออกจากออกจากหมู่ "ดาวเคราะห์ชั้นเอก" แห่งระบบสุริยะ หลังจากอยู่ในระบบมานานถึง 76 ปี โดยถูกจัดชั้นใหม่ให้เป็น "ดาวเคราะห์แคระ" เพราะดาวพลูโตแตกต่างจากดาวเคราะห์อีก ดวงที่อยู่ในระบบมาก ไม่ว่าจะเป็นระยะทางที่อยู่ไกลจากดวงอาทิตย์และมีขนาดเล็กกว่าดาวเคราะห์อีก ดวง และดาวพลูโตไม่สามารถควบคุมแรงดึงดูดและวงโคจรของสิ่งต่างๆ ที่อยู่นอกระบบสุริยะ
 2. ดวงจันทร์ 
ดวงจันทร์ที่เป็นบริวารของโลก อยู่ห่างออกไป 238,900 ไมล์ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2,160 ไมล์ หมุนรอบตัวเองและหมุนรอบโลกในอัตราเร็วและเวลาเกือบเท่ากัน ด้วยเหตุนี้เองคนบนโลกจึงเห็นผิวพื้นของดวงจันทร์เพียงด้านเดียวเสมอ

ดวงจันทร์เป็นดาวเคราะห์ที่ไม่มีแสงสว่างในตัวเอง และไม่มีอากาศห่อหุ้มอยู่เลย ดังนั้น ในเวลากลางวันด้านที่ได้รับแสงสว่างจากดวงอาทิตย์จะมีความร้อนมาก ขณะที่ด้านตรงข้ามกับดวงอาทิตย์จะไม่ได้รับแสงสว่าง จึงมีอุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง จึงทำให้สิ่งมีชีวิตอยู่บนดวงจันทร์ไม่ได้

ดวงจันทร์มีการหมุนรอบตัวเองและหมุนรอบโลกในอัตราเร็วและเวลาเกือบเท่ากัน คือ 27 วัน ชม. 43 นาที จึงทำให้คนบนโลกมองเห็นดวงจันทร์ด้านเดียวเสมอ อย่างไรก็ตาม แสงสว่างที่ดวงจันทร์สาดส่องมายังผิวโลกเป็นแสงสะท้อนมาจากดวงอาทิตย์อีกต่อหนึ่ง พื้นผิวของดวงจันทร์ถ้าดูด้วยกล้องโทรทรรศน์จะพบว่า ไม่เรียบ เป็นผิวขรุขระ เต็มไปด้วยภูเขาสูงและหุบเหวลึก ซึ่งเป็นลักษณะของภูเขาไฟที่ดับแล้วจำนวนนับไม่ถ้วนของดวงจันทร์ นอกจากนี้ตามผิวพื้นราบยังปรากฏเป็นหลุมลึกขนาดใหญ่มหึมาอีกมากมาย ซึ่งเข้าใจกันว่าเกิดจากการกระแทกอย่างแรงของสะเก็ดดาวนอกเวหาที่พุ่งเข้าชนดวงจันทร์

การเคลื่อนที่ของดวงจันทร์นอกโลกเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ มนุษย์เราจึงใช้ดวงจันทร์เป็นเครื่องวัดเวลาในการทำปฏิทินทางจันทรคติ

ดวงจันทร์ที่เป็นบริวารของโลกเมื่อมีการเคลื่อนที่สำคัญ ประการคือ
1.   หมุนรอบตัวเองใช้เวลาประมาณ 27 วัน ชม. 43 นาที
2.   โคจรรอบโลกใช้เวลาประมาณ 29.5 วัน (ราวๆ 1 เดือน) เท่ากัน
3.   โคจรรอบดวงอาทิตย์ใช้เวลาประมาณ 12 เดือน
  ดวงจันทร์อยู่ใกล้โลกมากเมื่อเทียบกับดวงอาทิตย์ (อยู่ห่างเพียงประมาณ 30 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางของโลกเท่านั้น) จึงเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดขึ้นน้ำขึ้นน้ำลงบนโลก การเคลื่อนที่ของดวงจันทร์รอบโลกเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ มนุษย์จึงใช้เป็นข้อมูลในการจัดทำปฏิทินทางจันทรคติ การหมุนรอบตัวเองในขณะโคจรรอบโลกและดวงอาทิตย์ จะทำให้มีปรากฏการณ์กลางวันกลางคืนเกิดขึ้นบนดวงจันทร์ได้ด้วย

นอกจากนี้ ทั้งโลกและดวงจันทร์ต่างก็มีเงาที่ทอดยาวไปในอวกาศ จนเกิดปรากฏการณ์ธรรมชาติ เมื่อดวงจันทร์ทอดเงามาที่โลกมาบังแสงจากดวงอาทิตย์ที่ส่องลงมาพื้นโลก ทำให้พื้นที่บนโลกบริเวณใต้เงาของดวงจันทร์มืดลง เรียกว่า การเกิดสุริยุปราคา และเมื่อเงาของโลกทอดไปยังดวงจันทร์จนมืดสนิทมองไม่เห็นดวงจันทร์ เรียกว่า การเกิดจันทรุปราคา


3. ดาวเคราะห์แคระ 


เป็นเทหวัตถุภายในระบบสุริยะที่มีคุณสมบัติ ประการ
·         เป็นวัตถุที่มีวงโคจรรอบดวงอาทิตย์
·         มีมวลมากพอที่จะทำให้มีแรงดึงดูดจนตัววัตถุมีขนาดเกือบเป็นทรงกลมสมบูรณ์
·         ไม่เป็นบริวารของดาวเคราะห์ดวงอื่นหรือเป็นบริวารของวัตถุท้องฟ้าอื่นใด (ไม่ใช่ดวงจันทร์บริวาร)
·         ไม่สามารถควบคุมแรงดึงดูดและวงโคจรของสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบวงโคจรของมัน
  ปัจจุบัน วัตถุท้องฟ้าที่ได้รับการรับรองว่า เป็นดาวเคราะห์แคระ มีด้วยกันทั้งหมด 5 ดวง ได้แก่ พลูโต (Pluto) ซีเรส (Ceres) อีริส (Eris) เฮาเมอา (Haumea) มาคีมาคี (Makemake)
4. ดาวเคราะห์น้อย

เป็นวัตถุขนาดเล็กๆ จำนวนมากในระบบสุริยะ มีขนาดเท่าเม็ดฝุ่นจนถึงมีขนาดใหญ่ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางเกือบพันกิโลเมตร ประกอบด้วย หินและโลหะ สันนิษฐานว่า เกิดจากการแตกกระจายของดาวเคราะห์ดวงหนึ่งในอดีต

ดาวเคราะห์น้อยเป็นบริวารของดวงอาทิตย์และโคจรรอบดวงอาทิตย์เช่นเดียวกับดาวดวงอื่นๆ โดยเกาะกันเป็นวงแหวนอยู่ระหว่างดาวอังคารและดาวพฤหัสบดี อยู่ห่างจากโลกประมาณ 150 – 354 กิโลเมตร

ดาวเคราะห์น้อยเราสามารถจำแนกได้เป็น ประเภทคือ
·         ดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่ เช่น ซีเรส เวสตา พัลลาส มีวงโคจรอยู่ในแถบเข็มขัดดาวเคราะห์น้อย ระหว่างวงโคจรของดาวอังคารและดาวพฤหัสบดี ดาวเคราะห์น้อยดวงที่ใหญ่ที่สุดคือ ซีเรส ปัจจุบันซีรีสถูกเลื่อนสถานะเป็นดาวเคราะห์แคระแล้ว
·         ดาวเคราะห์แคระที่เป็นวัตถุไคเปอร์ซึ่งถูกเพิ่งค้นพบใหม่ มีขนาดใหญ่กว่า และมีวงโคจรรูปรีมาก มีวงโคจรถัดจากดาวเนปจูนและดาวพลูโตออกไป

5. ดาวหาง (Comets) 
  เป็นวัตถุท้องฟ้าที่ไม่มีแสงในตัวเอง เป็นส่วนหนึ่งของระบบสุริยะโดยเคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์เป็นวงรีมาก ขณะที่อยู่ไกลจากดวงอาทิตย์จะไม่มีหางและหัว แต่เมื่อเคลื่อนที่เข้ามาใกล้ดวงอาทิตย์จึงจะมีหางและหัว หางจะยาวมากที่สุดเมื่ออยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด หางของดาวหางจะหันออกไปในทิศทางตรงข้ามกับดวงอาทิตย์เสมอ สิ่งที่ทำให้ดาวหางปรากฏมีหางขึ้นมากเพราะพลังงานจากดวงอาทิตย์ทั้งในรูปความร้อน ลมสุริยะ (อนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าที่กระเด็นออกไปจากดวงอาทิตย์) และรังสี ซึ่งทำให้น้ำแข็งสกปรก ที่เป็นใจกลางหัวของดาวหางระเหิดกลายเป็นไอ พลังงานที่เป็นลมสุริยะ และรังสีจะผลักดันให้หางพุ่งออกไปจากดวงอาทิตย์ หางจะมีทั้งที่เป็นฝุ่น เป็นก๊าซ และโมเลกุลที่มีประจุไฟฟ้า
            อุกกาบาต (Meteors) เป็นวัตถุนอกโลกที่ถูกเผาไหม้ไม่หมดขณะผ่านบรรยากาศโลก และเหลือตกลงมาบนพื้นผิวโลก เรียกว่า อุกกาบาต แต่ถ้าถูกเผาไหม้หมดมองเห็นเป็นแสงวาบ เรียกว่า ดาวตก หรือ ผีพุ่งใต้ ถ้าอุกกาบาตโตมากจะทำให้เกิดหลุมอุกกาบาตได้ บนดวงจันทร์มีหลุมอุกกาบาตเป็นจำนวนมากเพราะดวงจันทร์ไม่มีบรรยากาศ ไม่มีลม ไม่มีฝนที่จะทำให้หลุมอุกกาบาตที่มีอยู่แล้วพังสลายไป ดาวพุธและดาวอังคารก็มีหลุมอุกกาบาตเช่นเดียวกัน 

ที่มา  https://sites.google.com/site/homeaoy/bth-thi-1

ความคิดเห็น

  1. ได้ความรู้มากเลยค่ะ

    ตอบลบ
  2. มีประโยชน์มากค่ะ

    ตอบลบ
  3. ได้ความรู้มากครับเพิ่มรูปให้อีกจะเป็นที่จดจำครับผม

    ตอบลบ
  4. ได้ความรู้มากครับเพิ่มรูปให้อีกจะเป็นที่จดจำครับผม

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

จักรวาล

ระบบสุริยะจักรวาล

ดาวฤกษ์และดาวเคราะห์